:::ยินดีต้อนรับสู่โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ส่วนภูมิภาค  จังหวัดปราจีนบุรี   Welcome   to Ph.D. Prachinburi campus:::
ขั้นตอนการศึกษา
-->ขั้นตอนการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์
-->
ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
-->ขั้นตอนการส่งการศึกษาอิสระ
 


  ขั้นตอนการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์
--> หน้าที่นักศึกษา                      

รายละเอียด : 
1. ส่ง ปร.ด.1 (ชื่อเรื่องของดุษฎีนิพนธ์และอาจารย์ที่ปรึกษา)
2. ส่ง ปร.ด.2 (ชื่อเรื่องของดุษฎีนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา และรูปเล่มดุษฎีนิพนธ์ 4 เล่ม)

แผนการเรียนที่ 1
        ภาคการศึกษาที่ 1-2

               * ดุษฎีนิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผนการเรียนที่ 2
        ภาคการศึกษาที่ 1

        1. ระเบียบวิธีการวิจัย
        2. การศึกษาอิสระ 1

         นักศึกษาทำการศึกษาในหัวข้อเรื่องที่จะนำไปสู่การทำดุษฎีนิพนธ์ตามแผนการศึกษาที่ได้ทำตามความตกลงกับคณาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ในหัวข้อดังกล่าวและจัดทำรายงานผลการศึกษาในหัวข้อเรื่องดังกล่าว โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 80 หน้า เสนอผลที่ประชุมสัมมนาวิชาการที่โครงการปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ทางสังคมศาสตร์ จะจัดขึ้นตามการเสนอของคณาจารย์ที่กำกับดูแลการศึกษาอิสระดังกล่าว

ภาคการศึกษาที่ 2
        1. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
        2. การศึกษาอิสระ 2

        นักศึกษาทำการศึกษาในหัวข้อเรื่องที่จะนำไปสู่การทำดุษฎีนิพนธ์ตามแผนการศึกษาที่ได้ทำตามความตกลงกับคณาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ในหัวข้อที่แตกต่างไปจากการศึกษาอิสระ 1 และจัดทำรายงานผลการศึกษา ในหัวข้อเรื่องดังกล่าว โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 80 หน้า เสนอผลที่ประชุมสัมมนาวิชาการที่โครงการปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ทางสังคมศาสตร์ จะจัดขึ้นตามการเสนอของคณาจารย์ที่กำกับดูแลการศึกษาอิสระดังกล่าว



-->
ขั้นตอนสำหรับอาจารย์
รายละเอียด : สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
(1) กระบวนการสอบทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 40 นาที ต่อนักศึกษา 1 คน ทั้งนี้จะเป็นไปได้หากนักศึกษาปฏิบัติตาม “แนวทางในการดำเนินการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์สำหรับนักศึกษา”
(2) ประธานอาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวนำการสอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์
        (2.1) ระบุชื่อ-นามสกุลนักศึกษา
        (2.2) ระบุชื่อเรื่องดุษฎีนิพนธ์
        (2.3) ระบุชื่อคณะอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
        (2.4) ระบุชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
        (2.5) ระบุชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
        (2.6) ให้นักศึกษานำเสนอข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์โดยใช้เวลา 15 นาที
(3) ประธานอาจารย์ที่ปรึกษา เชิญอาจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ รวมทั้งประธานอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้ข้อคิดเห็นใน 7 ประเด็น ตามที่ระบุไว้ในแบบประเมิน
        (3.1) อ่านสาระของประเด็นให้อาจารย์/ผู้เข้าฟังได้ทราบว่าจะประเมินในเรื่องใดบ้าง
        (3.2) ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเชิญให้ผู้ร่วมฟังได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น และให้นักศึกษาตอบข้อซักถามในเวลาที่จำกัด
(4) ประธานอาจารย์ที่ปรึกษาเชิญให้ผู้เข้าร่วมฟังได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น และให้นักศึกษาตอบข้อซักถามในเวลาที่จำกัด
(5) ให้อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคน กรอกความคิดเห็นลงในแบบประเมิน
(6) ประธานอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสรุปผล กรอกผลการประเมินลงในแบบประเมินผลร่วมกัน
(7) ประธานอาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งผลการประเมินมายังโครงการฯ เพื่อดำเนินการด้านธุรการต่อไป


--> ขั้นตอนสำหรับนักศึกษา
รายละเอียด : แนวทางในการดำเนินการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
 

สำหรับนักศึกษา

การสอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์จะดำเนินการในวันเสาร์และอาทิตย์ นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการบริหารโครงการ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(1) นักศึกษาจะต้องแจ้งความตามประสงค์ต่อประธานอาจารย์ที่ปรึกษาว่าตนเองพร้อมที่จะสอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์
(2) นักศึกษาต้องส่ง “ข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์” ที่จะใช้สอบป้องกันฯ 2 ฉบับพร้อมทั้งคำร้องของสอบป้องกันฯ ที่มีลายเซ็นของคณะอาจารย์ที่ปรึกษาครบทั้ง 3 ท่าน ให้กับโครงการดุษฎีนิพนธ์ทางสังคมศาสตร์
(3) นักศึกษาจะต้องระบุวันเสาร์หรืออาทิตย์ใดของเดือนมิถุนายน 2544 ที่คณะอาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมที่จะสอบข้อเสนอนักศึกษาโดยนักศึกษาจะต้องทำการติดต่อประสานงายกับอาจารย์ที่ปรึกษาของตน และแจ้งให้โครงการฯ ทราบเป็นเวลาล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ก่อนวันสอบ
(4) นักศึกษาจะต้องทำเอกสารสรุปข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์เพื่อแจกอาจารย์ นักศึกษาโครงการฯ และผู้เข้าร่วมฟังไม่น้อยกว่า 50 ชุดใน 7 ประเด็น คือ
(5) ในการเสนอข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ให้นักศึกษาเสนอไม่เกิน 15 นาที ตาม 7 ประเด็น ดังนี้
        (5.1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        (5.2) วัตถุประสงค์ของการศึกษา
        (5.3) การทบทวนวรรณกรรม
        (5.4) กรอบแนวความคิด
        (5.5) ระเบียบวิธีการศึกษา/วิจัย
        (5.6) ขอบเขตของการศึกษา
        (5.7) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(6) ให้นักศึกษาแจ้งให้โครงการฯ ทราบว่าจะใช้อุปกรณ์ใดในการนำเสนอ เช่น PowerPoint หรือเครื่องฉายแผ่นทึบ
(7) ให้นักศึกษาตอบข้อซักถามของผู้ซักถามทุกคน
(8) หลังจากการสอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์แล้ว ให้นักศึกษาทำการปรับปรุงแก้ไขให้เป็น ข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสุดท้าย และส่งให้โครงการฯ 6 เล่ม เพื่อเป็นหลักฐานที่กำกับการควบคุมการศึกษา และการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ศึกษา



--> ข้อแนะนำในการจัดเอกสาร

รายละเอียด : ข้อแนะนำในการจัด เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 1
        เอกสารประกอบการสัมมนา ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
        1) จัดทำเป็นรูปเล่ม มีความยาวประมาณ 20-30 หน้า ไม่นับบรรณานุกรม ( กระดาษขนาด A4 ) มอบให้โครงการฯ จำนวน 5 เล่ม เพื่อโครงการฯ จะได้ดำเนินการจัดพิมพ์แจกผู้เข้าร่วมประชุมและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
        2) มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
               (2.1) ความเป็นมา (Background) ของเรื่อง มีการอ้างอิงวรรณกรรมทางวิชาการ และเอกสารที่ชัดเจน มีข้อมูลสนเทศ / เอกสาร หรือสถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องประกอบ (2.2) ความสำคัญของเรื่องในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง มีข้อมูลข้อสนเทศประกอบ พร้อมการอ้างอิงเอกสาร / วรรณกรรมทางวิชาการและเอกสารที่ชัดเจน
               (2.3) องค์ความรู้ในเรื่องนี้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแสดงความรอบรู้ของนักศึกษาในเรื่องนี้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
               (2.4) กรอบแนวความคิดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุดจะต้องระบุแนวคิดหลักๆ (Key concepts) และความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่าผู้ศึกษาคิดอย่างไรในเรื่องนี้ อะไรเกี่ยวข้องกับอะไร
               (2.5) บรรณานุกรมอ้างอิงเอกสารที่ตรงประเด็นและทันสมัย
        3) ปกนอกระบุชื่อหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ชื่อนามสกุลผู้ศึกษาและสาขาวิชา และ 4 บรรทัดล่างระบุว่าเป็น

"เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 1"
โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2544

        4) ในการอ้างอิงเอกสาร/วรรณกรรมทางวิชาการ ไม่ควรนำสิ่งที่คนทั่วไปสามารถจัดหาอ่านได้ เช่น ไม่ควรนำข้อความของมาตราหลายมาตราของพระราชบัญญัติ/ กฎหมายต่างๆ มาใส่จนเอกสารประกอบด้วยมาตรามากกว่าผลงานทางวิชาการที่นักศึกษาต้องการแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ทางวิชาการ นักศึกษาควรหลีกเลี่ยงจากใช้แหล่งอ้างอิงมือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเอกสาร/ ตำรา/ บทความ ที่ต้องการอ้างอิงนั้นเป็นภาษาไทย เช่น วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หากเป็นเอกสาร/ ตำรา/ บทความที่เป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาควรอ่านจากต้นฉบับ ยกเว้นแต่จะไม่สามารถหาอ่านได้จริงๆ
        5) การจัดทำ PowerPoint จะต้องเป็นเนื้อหาสาระ (Text) ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของเอกสารประกอบการสัมมนา ไม่ใช่เพียงหัวข้อและหัวข้อย่อย
        6) ใช้เวลาเสนอไม่เกิน 15 นาที
 

        สำหรับส่วนที่เป็นบรรณานุกรม ไม่ต้องบรรยายประกอบเพียงแต่ขึ้นภาพให้เห็นว่าเอกสาร/ บทความทางวิชาการอะไรที่สำคัญ เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นต่างๆ ที่ศึกษา และมีความทันสมัย

 

--> การสอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

         รายละเอียด : การสอบข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ของนักศึกษาทั้งแผนการเรียนที่ 1 และแผนการเรียนที่ 2 ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบ / ความพร้อมของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งมาที่โครงการฯ เพื่อโครงการฯ จะได้ดำเนินการด้านธุรการต่อไป การสอบข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์เป็นการสอบเปิด (Open examination) โดยที่นักศึกษาจะต้องเสนอข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ในห้องประชุม และต้องมีนักศึกษาของหลักสูตรและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมรับฟัง ****กระบวนการสอบดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตรวจสอบหัวข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ของนักศึกษาว่าซ้ำซ้อนกับนักศึกษาในสาขาวิชา และสาขาวิชาอื่นของโครงการหรือไม่ กรณีที่นักศึกษามีหัวข้อเรื่องซ้ำกัน ผู้ที่ขอสอบก่อนและผ่านการสอบแล้วให้ถือว่าข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์เรื่องนั้น เป็นของนักศึกษาผู้นั้นอย่างเป็นทางการ ในการสอบแต่ละหัวข้อดุษฏีนิพนธ์ จะต้องพิจารณาความพร้อมของอาจารย์ที่ปรึกษาในการสอบแต่ละครั้งต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 กรรมการท่านใดไม่สามารถมาร่วมข้อเสนอได้ ให้กรรมการท่านนั้นกรอกแบบประเมินผลข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบประเมินผล



--> การยื่นเอกสารขึ้นสอบ

               
รายละเอียด :  นักศึกษาที่ต้องการขึ้นสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ ให้ดำเนินการ ตามขั้นตอนต่างๆดังนี้อย่างเคร่งครัด 1. ให้นักศึกษาทำการนัดหมายกับคณะอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง3 ท่าน เพื่อตกลงนัดแนะให้ได้วันเวลาที่แน่นอนสำหรับการสอบป้องกัน ข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ พร้อมทั้งยื่นเอกสารข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ที่จะ ใช้ทำการสอบให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาท่านละ 1 เล่ม เพื่อให้อาจารย์ ที่ปรึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องหลังจากนั้นให้อาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่านลงนามในใบคำร้องปร.ด.3(ขอได้ที่โครงการ) และให้ประธาน คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฏีนิพนธ์ลงนามในใบคำร้องขออนุมัติสอบป้องกัน (การสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ โดยการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ในแต่ละครั้งจะต้องมีจำนวนนักศึกษาที่จะขึ้นสอบพร้อมกันในวัน-เวลานั้นๆไม่ต่ำกว่า 3 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อขอดูได้ที่โครงการ ในกรณีที่มีนักศึกษาขึ้นสอบน้อยกว่า 3 คนนักศึกษาสามารถดำเนินการสอบป้องกันต่อไปได้ตามวันเวลาเดิมโดยนักศึกษาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ในวัน-เวลานั้นๆทั้งหมด หรือ ยกเลิกกำหนดการสอบในวันเวลานั้นๆ) 2. ให้นักศึกษาแจ้งให้ประธานสาขาวิชาของคณะวิชาที่ตนศึกษาได้รับทราบและลงนามในใบคำร้องปร.ด.3(ฉบับเดียวกับที่อาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่านลงนาม) พร้อมทั้งมอบสำเนาข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ที่จะใช้ขึ้นสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ที่จะใช้ขึ้นสอบให้ประธานสาขาได้อ่านและตรวจสอบ 1 เล่ม 3. ให้นักศึกษานำเอกสารต่อไปนี้ทั้งหมดมายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ที่สำนักงานโครงการ - ใบคำร้องปร.ด.3 ที่มีการลงนามครบถ้วนจากคณะอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานสาขาวิชา - ใบคำร้องขออนุมัติสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ - ข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ที่จะใช้สำหรับการขึ้นสอบ 2 เล่ม โดยเอกสารทั้งหมดจะต้องพร้อมและส่งถึงโครงการก่อนกำหนดการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ เมื่อทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษาแจ้งและตรวจสอบวันเวลาที่แน่นอนที่จะทำการขึ้นสอบอีกครั้ง เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการต่างๆต่อไป *****ข้อเสนอแนะ***** ควรยื่นเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ทั้งหมดแก่เจ้าหน้าที่โครงการไม่น้อยกว่า 30 วัน เนื่องจากหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นนักศึกษาจะได้ทำการแก้ไขได้ทันกำหนดเวลาขึ้นสอบ และอย่าได้หลงเชื่อบุคคลใดที่แอบอ้างว่าสามารถดำเนินการต่างๆได้ก่อนกำหนดการขึ้นสอบน้อยกว่า 2 สัปดาห์ตามที่โครงการได้กำหนดไว้ มิฉะนั้นหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆเกิดขึ้น นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดและความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด



--> การแก้ไขข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์

             
   
รายละเอียด : 1. หลังจากที่นักศึกษาได้ทำการสอบป้องกันข้อเสนอดุษฏินิพนธ์แล้ว ให้นักศึกษาทำการแก้ไขข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ให้ครอบคลุมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้แสดงความคิดเห็นในห้องสอบให้ครบถ้วนในทุกประเด็น และจะต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่านได้ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งลงนามให้ความเห็นชอบว่าเป้นที่น่าพอใจแล้ว โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษารายงานผลการแก้ไขมายังโครงการโดยตรง หรือวิธีการอื่นตามแต่ที่อาจารย์ที่ปรึกษาสะดวก แต่ห้ามมิให้ฝากนักศึกษานำผลการรายงานมาส่งยังโครงการเด็ดขาด 2. นำข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ที่แก้ไขแล้ว มาส่งที่โครงการจำนวน 3 ฉบับ พร้อมพิมพ์ว่า "ข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์(แก้ไข)" เพื่อให้คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการอำนวยการโครงการ ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาว่าได้แก้ไขอย่างถูกต้องหรือไม่ และมีมาตรฐานทางวิชาการเพียงพอสำหรับการศึกาาระดับปริญยาเอกหรือไม่ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วคณะกรรมการบริหารจะได้พิจารณาอนุมัติ ให้เป็นข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสุดท้าย ที่จะใช้กำกับการศึกษาของนักศึกษาตามกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาของหลักสูตรต่อไป 3. เมื่อคณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการอำนวยการโครงการ ได้อนุมัติข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ของท่านเป็นข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสุดท้ายแล้ว ท่านจึงจะสามารถเข้าร่วมเสนอผลงานในการสัมมนาทางวิชาการในแต่ละครั้งได้


-> การอนุมัติข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์

                 
 
รายละเอียด : ขั้นตอนการอนุมัติข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์(ฉบับสมบูรณ์)เป็นฉบับสุดท้าย ก่อนที่นักศึกษาจะขึ้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 นักศึกษาจะต้องแก้ไขข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ จากข้อคิดเห็นของคณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษา และผุ้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่สอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ โดยมีสาระและขั้นตอนดังนี้ ต้องมีใบปะหน้าชี้แจงให้เห็นว่า นักศึกษาถูกวิจารณ์ในประเด็นใดบ้าง และแก้ไขอยู่ในหน้าใด มาพร้อมกับข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์(ฉบับแก้ไข) นำส่ง"ข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์(ฉบับแก้ไข)" ที่โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เพื่อโครงการฯจะได้จัดส่งให้คณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล คณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องแจ้งให้โครงการทราบภายใน 3 สัปดาห์ หากไม่มีการแก้ไข ทางโครงการฯจะได้นำเสนอต่อกรรมการบริหารโครงการฯ ให้พิจารณาเพื่ออนุมัติเป็น "ข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสุดท้าย" ในการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ซึ่งจะมีการประชุมเดือนละครั้ง โครงการฯจะแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงผลการตัดสินของคณะกรรมการบริหารโครงการฯว่าได้รับอนุมัติให้เป็นข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสุดท้ายหรือไม่ หากอนุมัติ นกศึกษาถึงจะมีสิทธิในการขึ้นสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 ต่อไป


 


  ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

--> การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1
            
         
รายละเอียด : 

เงื่อนไขเบื้องต้น

สำหรับนักศึกษาแผน 1 นักศึกษาปริญญาเอกได้ส่งข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (แก้ไข) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และคณะกรรมการบริหารโครงการฯ แล้ว และได้นำส่งข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าวให้กับโครงการฯ แล้วทั้ง 3 เล่ม
สำหรับนักศึกษาแผน 2 ต้องส่งเอกสานเช่นเดียวกับนักศึกษาแผน 1 พร้อมกับได้เกรดเฉลี่ยของ 4 วิชาบังคับ (12 หน่วยกิต) ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
 

เอกสาร

1) ปร.ด.11 ใบคำร้องขอร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 (มอบให้คณาจารย์ที่ ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ 3 ท่าน ท่านละ 1 ชุด จำนวน 3 ชุด)
2) ปร.ด.11 ใบนำส่ง ปร.ด.11 (สำหรับประธานสาขาวิชา จำนวน 1 ชุด)
3) เอกสารประกอบการสัมมนาให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และประธานสาขาวิชา ท่านละ 1 ชุด
4) แผ่น Diskette ที่นำเสนองานด้วย Power Point จำนวน 1 แผ่น
5) เอกสารประกอบการสัมมนา 2 สำเนา และแผ่น Diskette ที่นำเสนอด้วย Power Point 1 แผ่น ส่งโครงการฯ
 

 

แนวทางปฏิบัติ
ประธานสาขาวิชา / อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
นักศีกษาปริญญาเอก
อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์:-
พิจารณาและตรวจสอบเอกสารประกอบการสัมมนาพร้อมกับเซ็นอนุมัติให้นักศึกษาปริญญาเอกเข้าร่วมการสัมมนาเชิงวิชาการได้ในเอกสาร ปร.ด.11 จำนวน 3 ท่าน


ประธานสาขาวิชา:- พิจารณาแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งเซ็นอนุมัติให้นักศึกษาปริญญาเอกเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการได้ในเอกสาร ปร.ด.11.1


1. นักศึกษาจะต้องนำเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 1 พร้อมทั้งใบคำร้องของเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 (ปร.ด.11) ไปมอบให้ท่านอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ทั้ง 3 ท่านกรอกให้ความเห็นส่งมาที่โครงการฯ โดยไม่ผ่านหรือนำส่งโดยนักศึกษาก่อนการสัมมนา 3 สัปดาห์



2. นำเอกสารประกอบการสัมมนาไปให้ประธานสาขาพิจารณาพร้อมกับ ปร.ด.11ให้ประธานสาขาวิชาจัดส่ง ปร.ด.11ที่ลงนามให้ความเห็นแล้วมาที่โครงการฯ หรือส่งผ่านเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการฯในสาขาวิชา ส่งมายังเจ้าหน้าที่ของโครงการปรัชญาดุษฎี-บัณฑิตทางสังคมศาสตร์เพื่อลงรับไว้เป็นหลักฐาน

--> การสัมนาเชิงปฏิบัติการ
       
 
      
 รายละเอียด : การสัมมนาเชิงปฏิบัติของทางโครงการฯจะเป็นการสัมมนาแบบเปิดโดยจะมีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมรับฟังและเสนอข้อคิดเห็นมุมมองต่างๆที่เกี่ยวกับหัวข้อดุษฏีนิพนธ์ที่ทำการสัมมนา
หมายเหตุ: ก่อนการขึ้
นสอบสัมนาของแต่ละครั้งนักศึกษาต้องร่วมฟังการสัมนาของครั้งนั้นๆอย่างน้อย 2 ครั้งนักศึกษาจึงจะมีสิทธิ์ขึ้นสอบ

--> ข้อกำหนดเบื้องต้นการสัมนา1

              
รายละเอียด : ข้อกำหนดเบื้องต้น นักศึกษาแผน1 นักศึกษาปริญญาเอกแผน1 ที่จะขึ้นสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่1จะต้องส่งข้อเสนอดุษฏีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์(ฉบับที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว)ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารโครงการ พร้อมทั้งได้นำส่งเอกสารดังกล่าวให้กับทางโครงการเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาแผน2 นักศึกษาปริญญาเอกแผน2 จะต้องส่งเอกสารเช่นเดียวกับนักศึกษาแผน1 พร้อมทั้งได้เกรดเฉลี่ยของ 4 วิชาบังคับเรียบร้อยแล้วคือ 1.ระเบียบวิธีการวิจัย 2.การศึกษาอิสระ1 3.การศึกษาอิสระ2 4.เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พร้อมทั้งลงทะเบียนวิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ1 เรียบร้อยแล้ว

-> ขั้นตอนเอกสาร

                
รายละเอียด : ขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่1 นักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิในการเข้าสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

1.ต้องผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเบื้องต้นและต้องยื่นเอกสารเพื่อขอเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1
2. นักศึกษาต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานของแต่ละสาขาวิชาว่าได้รับเอกสาร ที่ลงนามโดย คณะอาจารย์ที่ปรึกษา และประธานสาขาวิชาครบถ้วนแล้วหรือยัง หากได้รับครบถ้วนแล้วให้เจ้าหน้าที่ประสานงานของแต่ละสาขาวิชา รวบรวมเอกสารที่ลงนามโดย คณะอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่าน และประธานสาขาวิชาแล้ว ส่งที่โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยต้นฉบับเอกสารประกอบการสัมมนา 5 ชุด( รวมทั้งหมดเป็น 9 ชุด ตามข้อ 1. 4 ชุด และให้โครงการตามข้อ 2.อีก 5 ชุด) และแผ่น Diskette ที่นักศึกษาจะนำเสนอด้วย PowerPoint (ใช้ PowerPoint version ไม่สูงกว่า Powerpoint 97) 3 สัปดาห์ ก่อนการสัมมนา ถ้าส่งไม่ทัน จะจัดให้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 ในครั้งต่อไป
(1) นักศึกษาต้องจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนาปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ โดยมีความยาวไม่เกิน 30 หน้า (ข้อแนะนำในการจัดเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ Click Here) (2) นักศึกษาจะต้องจัดเตรียมการนำเสนอ สาระของเอกสารที่จะเสนอต่อ ที่ประชุมด้วย Power Point เท่านั้น ห้ามไม่ให้มีการใช้แผ่นใส หรือ แผ่นทึบ หรือเสนอด้วยปากเปล่า โดยไม่มี Power Point นำเสนอ (จัดทำด้วยPowerpoint version ไม่สูงกว่า Powerpoint97) 3. การนำเสนอจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที และให้เวลาซักถามจากที่ประชุมเป็นเวลา 10 – 15 นาที 4. ในช่วงเวลาซักถาม ให้นักศึกษาตอบข้อคำถามทุกข้อ แต่ห้ามมิให้นักศึกษาย้อนถามผู้ซักถามจากที่ประชุม หรือขอร้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้อื่น ตอบแทน 5. นักศึกษาทุกคนต้องนำประเด็นข้อซักถาม และข้อคิดเห็นจากที่ประชุมทุกประเด็นไป ปรับปรุง แก้ไขเอกสารประกอบการสัมมนา จนสมบูรณ์เป็น " เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 (ฉบับแก้ไข) " 6. นักศึกษาจะต้องนำส่งเอกสารที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว พร้อมแบบฟอร์มคำร้อง ให้ทางโครงการฯ ทั้งนี้เพราะเอกสารดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา และเพื่อแสดงให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมได้เห็นว่านักศึกษาได้นำความคิดเห็นของที่ประชุมไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ที่พึงมีในดุษฎีนิพนธ์ของตน

--> ข้อแนะนำในการจัดทำเอกสาร
               

--> การขึ้นสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2

           
  
รายละเอียด : ขั้นตอนการอนุมัติการขึ้นสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2 นักศึกษาต้องส่งเอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 ที่ได้ปรับปรุงแก้ไข ครอบคลุมข้อคิดเห็นของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมการสัมมนาปฏิบัติการ 1 พร้อมใบปะหน้าชี้แจงให้เห็นว่า อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิท่านใด ให้ข้อคิดเห็นว่าอย่างไร และได้แก้ไขแล้วอยู่ในหน้าใด นำส่งเอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 (ฉบับแก้ไข) ที่โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เพื่อโครงการฯ จะได้จัดส่งให้อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องแจ้งให้โครงการฯทราบภายใน 3 วัน หากไม่มีการแก้ไข ทางโครงการฯจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ซึ่งจะมีเดือนละครั้ง โครงการฯจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ ถึงผลการตัดสินของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ว่าได้รับการอนุมัติหรือไม่ หากอนุมัตินักศึกษาถึงจะมีสิทธิในการขึ้นสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2 ต่อไป

--> ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

     รายละเอียด : ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 นักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ต่อไปนี้โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ในการเข้าสัมมนาปฏิบัติการครั้งที่ 2 1) ต้องผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเบื้องต้นและต้องยื่นเอกสารเพื่อขอเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 2) นักศึกษาต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานของแต่ละสาขาวิชาว่าได้รับเอกสารที่ลงนามโดย คณะอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานสาขาวิชาครบถ้วนแล้วหรือยัง หากได้รับแล้วให้เจ้า-หน้าที่ประสานงานของแต่ละสาขาวิชารวบรวมเอกสารที่ลงนามโดยคณะอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่าน และประธานสาขาวิชาแล้ว ส่งที่โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยต้นฉบับเอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน 4 เล่ม และแผ่น Diskette ที่นักศึกษาจะนำเสนอด้วย Power Point 3 สัปดาห์ ก่อนการสัมมนา ถ้าส่งไม่ทันจะจัดให้เข้าร่วมสัมมนาปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ในครั้งต่อไป (2.1) นักศึกษาต้องจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนาปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ใน หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ โดยมีความยาวไม่เกิน 30 หน้า (2.2) นักศึกษาจะต้องจัดเตรียมการนำเสนอสาระของเอกสารที่จะเสนอต่อที่ประชุมด้วย Power Point เท่านั้น ห้ามไม่ให้มีการใช้แผ่นใสหรือแผ่นทึบ หรือเสนอด้วยปากเปล่า โดยไม่มี Power Point นำเสนอ (2.3) นักศึกษาจะต้องติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศ ทดสอบการใช้ Diskette / PowerPoint ก่อนการสัมมนา เพื่อ ไม่ให้เสียเวลาในช่วงเวลาที่นำเสนอ 3) การนำเสนอจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที และให้เวลาซักถามจากที่ประชุมเป็นเวลา 20 - 30 นาที 4) ในช่วงเวลาซักถาม ให้นักศึกษาตอบข้อคำถามทุกข้อด้วยตนเอง แต่ห้ามมิให้นักศึกษาย้อนถามผู้ซักถามจากที่ประชุม หรือขอร้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้อื่นตอบแทน 5) นักศึกษาทุกคนต้องนำประเด็นข้อซักถามและข้อคิดเห็นจากที่ประชุมทุกประเด็นไป ปรับปรุงแก้ไขเอกสารประกอบการสัมมนา จนเรียบร้อยเป็น " เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2 (ฉบับแก้ไข) " 6) นักศึกษาจะต้องนำส่งเอกสารที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ทางโครงการฯ ทั้งนี้ เพราะเอกสารดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา และเพื่อแสดงให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมได้เห็นว่านักศึกษาได้นำความคิดเห็นของที่ประชุมไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ที่พึงมีในดุษฎีนิพนธ์ของตน 7) ให้นักศึกษาที่จะขึ้นสัมมนา ได้ประสานงานกันในการทำการเสนอด้วย Power Point ที่มีความต่อเนื่อง ไม่ใช่ต้องขึ้นไป set ระบบใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนผู้เสนอ 8) ทดสอบการใช้ร่วมกันก่อนวันสัมมนา 3 วัน และเข้าร่วมประชุมพร้อมกันในช่วงเวลาเช้า/บ่าย ที่มีการเสนอหัวข้อเรื่องของตน 9) การเสนอด้วย Power Point ไม่ควรใช้ Background สี จะทำให้ข้อความเห็นไม่ ชัดเจน ไม่ควรใช้ตัวพิมพ์เล็กจากเอกสารมาเสนอ เพราะผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ควรจัดทำขึ้นมาพิเศษเป็นตัวใหญ่จึงจะเห็นได้ชัดเจน


  ขั้นตอนการส่งการศึกษาอิสระ
       รายละเอียด : 

ขั้นตอน

1. นักศึกษาปริญญาเอกลงทะเบียนเรียนตามแผน 2 วิชา “การศึกษาอิสระ 1 และ การศึกษาอิสระ 2”
2. นักศึกษาที่ต้องทำรายงานการศึกษาอิสระ 1 และ การศึกษาอิสระ 2 ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาคนละ 1 สำเนา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจแก้ไข เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว และอาจารย์ที่ปรึกษาออก เกรดนำส่งโครงการฯ (ปร.ด.8,9) โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาจัดส่งเอง
3. นักศึกษาต้องส่งรายงานดังกล่าวให้ประธานสาขาฯ อีก 1 สำเนา เพื่อให้ประธานสาขาได้แสดง ความคิดเห็นแจ้งมายังโครงการฯ โดยใช้ใบ ปร.ด.10
4. การนำส่งเอกสารทั้งหมดให้กับโครงการฯ นั้น จะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 หากนักศึกษาไม่สามารถนำส่งได้ในเวลาที่กำหนดทางโครงการฯ จำเป็นที่จะต้องให้เกรด F ซึ่งจะมีผลทำให้นักศึกษา ไม่มีสถานภาพครบของการเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งอาจแก้ไข โดยการลงทะเบียนเรียนใหม่เพื่อขอปรับเกรด ปร.ด.7 ใบส่งรายงานการศึกษาอิสระ 1 และ 2 / IS จำนวน 1 เล่ม (โครงการฯ)
        ปร.ด.8 ใบแจ้งผลการศึกษาอิสระ สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ทั้ง 3 ท่าน ประชุม ร่วมกันมอบหมายงาน
        ปร.ด.9 ใบแจ้งผลการศึกษาอิสระ สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ท่านใดท่านหนึ่งใน 3 ท่านเป็นผู้มอบหมายงาน
        ปร.ด.10 ใบแจ้งผลการศึกษาอิสระ (สำหรับประธานสาขาวิชา) / IS 1 เล่ม

 

แนวทางปฏิบัติ
ประธานสาขาวิชา / อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
นักศีกษาปริญญาเอก
อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์:-
  พิจารณาดู IS ของนักศึกษาปริญญาเอกที่อยู่ภายใต้การดูแลของท่าน จากนั้นก็ให้กรอกใบประเมินผลการศึกษา IS (ปร.ด.8 หรือ 9) ปิดผนึกนำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการ


ประธานสาขาวิชา:-
   พิจารณา IS ของนักศึกษาพร้อมทั้งกรอกใบประเมินผลการศึกษา (ปร.ด.10) แล้วให้เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำสาขาวิชานำส่งโครงการฯ


1. นักศึกษาจะต้องนำ IS จำนวน 3 เล่ม หรือ 1 เล่ม พร้อมเอกสารใบประเมินผลการศึกษา ปร.ด. 8 หรือ ปร.ด.9 ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ผู้ที่มอบหมายงานพิจารณาและให้เกรดโดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาใส่ซองปิดผนึกส่งโครงการฯ ด้วยตนเอง หรือผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานของโครงการฯ ประจำสาขา


2. นักศึกษาจะต้องนำ IS จำนวน 3 เล่ม หรือ 1 เล่ม พร้อมเอกสารใบประเมินผลการศึกษา ปร.ด.10 ให้แก่ประธานสาขาพิจารณาและเซ็นอนุมัติโดยให้ประธานสาขาส่งด้วยตนเอง หรือ ส่งส่งผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ ประจำสาขาส่งให้โครงการฯต่อไป

3. นำส่ง IS พร้อม ปร.ด.7 ที่โครงการฯ 1 เล่ม

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230
โทร. : 0-2310-7020-1, 0-3740-5658  แฟกซ์ : 0-2310-7020,0-2310-7022- 3
E-mail : mail : kung01_la@hotmail.com ,poo_11th@hotmail.com